ผลข้างเคียงจากการฉีดโบท็อก
อาการตาเหล่ และตาปิดเกร็ง
ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1980 นักจักษุวิทยาตามมาหวิทยาลัยหลายแห่งในสหรัฐฯ และแคนาดา เริ่มศึกษาถึงความสามารถในการรักษาอาการอาการตาเหล่ และตาปิดเกร็งของ botulinum toxin จนกระทั่งปี 1985 จึงสามารถระบุขนาดการใช้ และวิธีการฉีดได้ชัดเจน
การรักษาอาการตาเหล่ และตาปิดเกร็งด้วย botulinum toxin หากทำอย่างถูกต้อง จะมีผลข้างเคียงน้อยมากและไม่เป็นอันตราย อย่างไรก็ตาม ผลของการรักษาจะอยู่ได้เพียง 4–6 เดือน
ในปี 1989 บริษัทผู้ผลิต botulinum toxin: Allergan, Inc. (ภายใต้ชื่อ Botox) ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ (U.S. FDA) เพื่อผลิต botulinum toxin สำหรับรักษาอาการตาเหล่ ตาปิดเกร็งและอาการเกร็งครึ่งใบหน้าสำหรับผู้ป่วยที่มีอายุเกิน 12 ปี
การหดเกร็งของกล้ามเนื้อ
สืบเนื่องจากความสำเร็จในการรักษาอาการตาเหล่ และตาปิดเกร็งนี่เอง ที่ทำให้เกิดการศึกษาความสามารถและขนาดของ botulinum toxin ที่จะใช้รักษาอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ (spasm) ซึ่งกำลังเริ่มเป็นที่ยอมรับในหลายๆ ประเทศ
upper motor neuron syndrome
ในปัจจุบัน botulinum toxin เป็นสารที่ใช้เยียวยาอาการที่เกิดจาก upper motor neuron syndrome (อาการที่เกิดจากกล้ามเนื้อไม่สามารถคลายตัวได้เต็มที่ เป็นการจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อต่อนั้น) เนื่องจากอาการเหล่านี้เกิดจากการหดตัวที่มากเกินไปของกล้ามเนื้อ คล้ายกับการหดเกร็ง (spasm)
การฉีด botulinum toxin จะทำให้กล้ามเนื้อนั้นหดตัวน้อยลง ทำให้ข้อต่อใช้การได้มากขึ้น กรณีที่น่าสนใจกรณีหนึ่งคือกรณีของชายออสเตรเลียคนหนึ่ง ในปี 2009 ซึ่งต้องอยู่บนรถเข็นเป็นเวลากว่า 20 ปี จนกระทั่งได้รับการรักษาด้วย botulinum toxin จนเดินได้อีกครั้ง
ยับยั้งการเกิดเหงื่อ
การทดลองของ Khalaf Bushara และ David Park ในปี 1993 เกี่ยวกับสมบัติในการยับยั้งการหลั่งเหงื่อของ botulinum toxin นับเป็นการนำสารนี้ไปใช้ในด้านที่ไมม่ได้เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อเป็นครั้งแรก จากการศึกษานี้ ทำให้ botulinum toxin เป็นตัวเลือกหนึ่งในการเยียวยาอาการเหงื่อออกมากเกิน (hyperhidrolysis) โดยเฉพาะบริเวณรักแร้
ข้อมูลจาก https://th.wikipedia.org/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น